พ.ศ. 2544 - 2551

ยุคที่ 8 ยุคเอื้ออาทร บ้านเพื่อความเท่าเทียมของคนทุกระดับ



หลังจากการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างหนักในช่วงยุคที่ผ่านมา ผลจากการทำงานหนักของรัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่ร่วมมือร่วมใจกันนำพาประเทศฝ่าวิกฤตครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไปให้ได้ ภายในเวลาไม่นานก็เริ่มมีสัญญาณบวกและทิศทางที่ดีเกิดขึ้นในช่วงยุคนี้ เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว วงการอสังหาริมทรัพย์กลับมาคึกคักอีกครั้ง ที่ดินในกรุงเทพมีราคาขยับขึ้นสูงมาก จึงเหมาะกับการลงทุนเป็นที่อยู่อาศัยแนวสูง และภาคเอกชนหลายราย กระจายเลือกที่จะการสร้างที่อยู่อาศัยแนวราบออกสู่ปริมณฑล รัฐบาลยังคงส่งเสริมให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตนเอง ในขณะเดียวกันก็ยังเดินหน้าแก้ไขปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม จัดระเบียบชุมชนผู้มีรายได้น้อยต่อไป

แบบโครงการบ้านเอื้ออาทร

ความมุ่งมั่นของภาครัฐในการจัดการปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรมในเมืองและมุ่งเน้นให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองทำให้เกิด โครงการบ้านหนึ่งล้านหลัง ขึ้นโดยได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2546 เป้าหมายสำคัญของโครงการ คือ การจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบเมือง ร่วมด้วยแผนการแก้และป้องกันปัญหาชุมชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งทั้งหมดนั้นจะเป็นโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่เคยอยู่ในชุมชนเสื่อมโทรมได้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้เริ่มเกิดความเท่าเทียมในการมีคุณภาพการอยู่อาศัยที่ดีในทุกระดับชั้นของสังคม โดยจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้ครัวเรือนที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรัฐบาลจะให้การอุดหนุน หน่วยละ 80,000 บาท เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยผ่อนชำระรายเดือนไม่เกิน 1,500 บาท เป็นบ้านราคาเดียวทั่วประเทศ คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการที่อยู่อาศัยในทั่วประเทศกว่า 1,600,000 หน่วยทั่วประเทศ ก่อให้เกิดโครงการจัดทำบ้านเอื้ออาทร 600,000 หน่วย บ้านมั่นคง 300,000 หน่วย และบ้านออมสิน 100,000 หน่วย โดยได้เริ่มโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านมั่นคง กระจายไปในทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยให้การเคหะแห่งชาติจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร และให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จัดทำโครงการบ้านมั่นคง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสาหรับผู้มีรายได้น้อยและคนยากจนในชุมชนเมือง

โครงการบ้านเอื้ออาทรแบบบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด

โครงการบ้านเอื้ออาทรแบบแฟลต

โครงการบ้านมั่นคง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 หรือแผนฟื้นฟูชาติหลังวิกฤต ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน และเน้นการมีส่วนร่วมกันกับทุกภาคส่วนควบคู่ไปกับการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเจ้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นปรัชญานาทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและปากท้อง ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน โดยการสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความยากจน ให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ และรู้เท่ากันโลก

เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจปรับตัวสู่ความมั่นคง ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ก็กลับต้องมาชะลอตัวอีกครั้งจากปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ามัน สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การระบาดของไข้หวัดนก และภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ (Tsunami) ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ


ยุคก่อนหน้า | กลับสู่ Timeline | ยุคถัดไป