พ.ศ. 2552 - 2559

ยุคที่ 9 ยุคเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต



หากเปรียบยุคบ้านเอื้ออาทร คือ ยุคฟ้าหลังฝนของการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศไทย ในช่วงเวลาต่อมานี้คือยุคสมัยของการปรับตัวและพัฒนาคุณภาพของที่อยู่อาศัยไปพร้อมๆ กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย

ในช่วงปลายปี พ.ศ.2554 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ทั่วประเทศ ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดเกณฑ์การพิจารณาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่มีมาตรการป้องกันน้ำท่วมทั้งในส่วนของการตลาดและการอยู่อาศัย เช่น การเลือกทำเลที่ตั้ง วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ที่จะช่วยให้ความมั่นใจได้ว่าในทุกๆ ปีช่วงฤดูฝนจะไม่เกิดความเสียหายรุนแรงกับบ้านและผู้อาศัย

ในสภาวะที่เศรษฐกิจยังคงชะลอตัว ประกอบกับภาระหนี้ครัวเรือนสูง และภาวะความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่การขอจดทะเบียนอาคารชุดมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนความต้องการของผู้บริโภคเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมไม่เอื้อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อหรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็วดังเช่นที่ผ่านมา ที่ดินในกรุงเทพยังคงมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลงทุนในโครงการสินทรัพย์ประเภทอาคารชุดจึงตอบโจทย์มากกว่า ส่วนโครงการบ้านเดี่ยวหรือสินทรัพย์ที่กระจายตัวในแนวราบของภาคเอกชนเริ่มกระจายตัวออกสู่ปริมณฑลและต่างจังหวัดมากขึ้น นอกจากนี้ขนาดของครัวเรือนก็เริ่มมีขนาดเล็กลงเนื่องจากอัตราการมีลูกลดลง คอนโดมิเนียมตามเส้นแนวรถไฟฟ้า ที่เหมาะกับการอยู่อาศัยคนเดียวหรือครอบครัวที่มีขนาดเล็ก รวมไปถึงบ้านที่มีสามารถรองรับการอยู่อาศัยของคนได้ทั้ง 3 Generation โดยมีการนำหลักการ Universal design เข้ามาร่วมใช้ในการออกแบบ อีกทั้งสังคมไทยมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จึงทำให้เกิดแนวคิดโครงการบ้านเพื่อผู้สูงอายุขึ้น เช่น โครงการสวางคนิเวศน์ และโครงการ Wellness City

โครงการสวางคนิเวศน์

โครงการ Wellness city

ไม่เพียงแต่รูปแบบของสถานที่พักอาศัยจะเปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย ตั้งแต่การเลือกวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงสร้างที่ช่วยประหยัดพลังงาน และทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว วัสดุสำเร็จรูปที่ช่วยย่นระยะเวลาการก่อสร้างฯลฯ หลายโครงการชูจุดขายเรื่องเทคโนโลยีเพื่อชีวิตที่ทันสมัยเป็นจุดแข็งเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดกับคู่ต่อสู้ อย่างโครงการวิสซ์ดอม 101 (Whizdom 101) [ภาพที่ 5.27] เป็นโครงการที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบที่พักอาศัย เช่น ใช้เทคโนโลยี “Energy Recovery Ventilation” (ERV) ที่ช่วยให้อากาศถ่ายเทอย่างทั่วถึง รวมไปถึงมีระบบ Home Automation ที่ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่

โครงการวิสซ์ดอม 101 (Whizdom 101)

ในช่วงปี พ.ศ. 2559 อุปทานของที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 538,000 หน่วย โดยที่มีอุปสงค์อยู่เพียง 300,000 หน่วยเท่านั้น และเพื่อให้ทั้งอุปสงค์และอุปทานนั้นสมดุลกัน รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในโครงการบ้านหลังแรกและนโยบายลดหย่อนภาษีจากการกู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ทำให้ประชาชนกลุ่มที่พอมีความสามารถในการการครอบครองที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้จำกัดและเป็นกลุ่มที่เพิ่งเริ่มทำงาน


ยุคก่อนหน้า | กลับสู่ Timeline