บ้านพี่ไก่ อยู่ในบริเวณเดียวกันกับบ้านสองหลังข้างต้น แต่ปัจจุบันมีรั้วสังกะสีกั้น ตัวเรือนเคยปลูกอยู่ใกล้ริมคลองสวนหมากแต่ได้ถูกชะลอมาปลูกริมถนนซอยในยุคที่ถนนเริ่มมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตมากกว่าคลอง พี่ไก่เป็นหลานสาวคนหนึ่งของยายถวิล เรือนหลังนี้เป็นมรดกตกทอดมาจากพ่อซึ่งเป็นพี่น้องกันกับป้าจวบและป้าเจียก (ซึ่งพี่ไก่เรียกทั้งสองท่านว่า “อา”) สามีของพี่ไก่คือพี่โป้ย เป็นคนนครชุมที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวลาวเวียง (ที่อาจหมายถึง “เวียงจันท์”) ซึ่งหากมีการพูดคุยในกลุ่มคนเชื้อสายเดียวกันในนครชุมจะพบว่ามีภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างออกไปโดยเฉพาะการใช้ศัพท์บางคำ พี่โป้ยและพี่ไก่มีความรู้ความสามารถและเลือกประกอบอาชีพรับทำพระเครื่อง หลังจากเกษียณตัวเองจากการทำงานในโรงงานน้ำตาลมาเป็นเวลานานหลายปี โดยใช้พื้นที่ประกอบกิจกรรมทำพระเครื่องภายในบริเวณบ้านโดยปลูกเป็นโรงเรือนแยกต่างหากจากตัวบ้าน สำหรับใช้อัดพระและมีเตาเผาพร้อมกับใช้พื้นที่บริเวณนี้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุมสำหรับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับการสืบทอดงานพุทธศิลป์ของนครชุมอย่างแท้จริงแม้โรงเรือนจะปลูกสร้างขึ้นอย่างธรรมดาทั่วไป
![]() |
![]() |
![]() |
ผังพื้นชั้นหนึ่ง |
ผังพื้นชั้นสอง |
ผังหลังคา |
![]() |
![]() |
![]() |
รูปด้านหนึ่ง |
รูปด้านสอง |
รูปตัดหนึ่ง |
![]() |
||
รูปตัดสอง |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |